แม้เวลาจะผ่านไปข้างหน้าเรื่อยๆ ในวงการก่อสร้างก็มีแนวคิดในการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ วัสดุที่แปลกออกไปมาให้ได้เลือกใช้ตามอัธยาศัยทุกปี แต่จะมีวัสดุธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ยังคงได้รับความนิยมมาอย่างตือเนื่องยาวนาน นั่นก็คือ อิฐ ที่ทำมาจากดินเผาธรรมดา ๆ ที่อาจจะดูหลงยุคล้าสมัยในช่วงหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าคุณสมบัติ สัมผัส รวมถึงสีของอิฐเป็นเสน่ห์เฉพาะที่ทำให้เจ้าของบ้านและสถาปนิกมักหยิบจับมาใช้งานเสมอ เพียงแต่อาจนำมาปรับประยุกต์ในรูปแบบหน้าตาและฟังก์ชันที่ต่างออกไปให้สอดรับกับยุคสมัยและเทรนด์มากขึ้น
บ้านโมเดิร์นเส้นสายเรขาคณิตสีส้ม เทา ดำ
บ้านสองชั้นสไตล์โมเดิร์นเส้นสายเรขาคณิตเฉียบคมหลังนี้ บ้านมีความสนใจใน “อิฐ” มากเป็นพิเศษ สถาปนิกจึงยึดวัสดุนี้เป็นเป็นข้อมูลอ้างอิงหลักในการออกแบบทั้งภายนอกและภายใน เพื่อสะท้อนตัวตนที่มีทั้งความทันสมัยจากเส้นสายและสีที่มีเพียงหลัก ๆ 3 สี นำมาจับคู่ให้ตัดกัน และความเคารพต่อวัสดุท้องถิ่นที่อยู่คู่อินโดนีเซียมาเนิ่นนาน
ภายในบ้านออกแบบให้มีความโปร่งโล่งและลื่นไหล ต่างจากภาพภายนอกที่ค่อนข้างปิด วางฟังก์ชันนั่งเล่น ครัว และห้องทานข้าวเอาไว้ด้วยกันในพื้นที่เดียว ผสมผสานความเป็นโมเดิร์นของเส้นสายเรขาคณิตและโทนสีธรรมชาติ ผ่านวัสดุปิดผิวที่ใช้แตกต่างหลากหลาย อาทิ ผนังฉาบคอนกรีตทาสีเทา สีขาว ผนังปิดวัสดุลายไม้ พื้นกระเบื้องสีขาว โต๊ะทานข้าวไม้แท้ชุดใหญ่คุมธีมสีให้ไปกันได้กับภายนอก
ความพิเศษที่เห็นได้ชัดอยู่ที่ตำแหน่งบันไดของบ้านหลังนี้ ซึ่งจะอยู่ใจกลางบ้านพอดิบพอดีและมีที่ว่างบนผนังสูงหลายเมตร สถาปนิกรู้สึกว่าต้องทำอะไรให้น่าสนใจมากขึ้น จึงใช้อิฐดินเผาสีส้มอมแดงเรียงเป็นแถวขึ้นไปแบบไม่สลับหว่างจนเต็มพื้นที่สูงสองชั้น จากนั้นก็ทำบันไดลอยจากเหล็กสีดำแบบไม่มีลูกตั้ง พร้อมช่องแสงด้านบนเพื่อให้แสงแดดส่องเข้ามากระทบบริเวณบันไดสร้างมิติของแสงเงาในเวลากลางวัน กลายเป็นจุดไฮไลท์ที่ต้องจับตามอง
การที่บ้านมีเส้นตรงมากเกินไป หรือสีวัสดุดิบๆ อย่างคอนกรีตเปลือยในบริเวณกว้าง อาจจะทำให้ภาพรวมดูโมเดิร์นก็จริง แต่ก็ตามมาด้วยความรู้สึกแข็งกระด้าง การใส่เส้นโค้งเข้าไปในบางจุด เช่นระเบียง ซุ้มประตู กันสาด บันได หรือใช้วัสดุที่ให้ความารู้สึกอบอุ่นอ่อนโยนอย่างอิฐและไม้เข้าไปแทรก จะทำให้น้ำหนักของบ้านและอารมณ์ความรู้สึกมีความสมดุลมากขึ้น
ในโครงการนี้ ไซต์หันไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นทิศที่รับแสงได้ดีที่สุดในตอนกลางวัน ดังนั้นทีมงานจึงออกแบบ Facade ให้ต้านทานกับความร้อนได้ดีขึ้นโดยก่อผนังให้ปิดทึบมีช่องเปิดเล็กน้อย เพื่อลดแสงแดดที่ส่องเข้ามาในบ้าน ส่วนฝั่งตรงข้ามจะจัดให้มีช่องแสงขนาดใหญ่เป็นช่องรับแสงหลักในบ้านตั้งแต่เช้าจรดเย็น
อิฐ นอกจากจะเป็นวัสดุบ้านๆ ที่เพิ่มกลิ่นอายของธรรมชาติ และสื่อถึงบรรยากาศแบบเขตร้อนแล้ว ในแง่ของคุณสมบัติของวัสดุก็สอดคล้องกับสภาพอากาศคือ อิฐเป็นวัสดุยอมให้ความร้อนถ่ายเทเข้าง่าย แต่จะค่อยๆ ถ่ายเทสู่ภายนอกช่วงค่ำ และไม่ดูดซับความชื้นเอาไว้ในตัวมากเกินไป แต่ก็จะยังคงรู้สึกร้อนมาก ๆ ได้หากอยู่ในโซนที่อากาศร้อนจัด หรือผนังบ้านหลักหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งสามารถรับแสงแดดได้เต็มที่หลายชั่วโมงต่อวัน ถ้ามีงบประมาณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการต้านทานความร้อน โดยทำเป็นผนังอิฐสองชั้นจะช่วยลดร้อนให้บ้านเย็นเห็นความต่างได้ชัดเจน
ออกแบบบ้านสองชั้น: บ้านโชว์อิฐ ให้ผนังและบันไดเป็นจุดไฮไลท์ของบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/