ผู้เขียน หัวข้อ: โรคปอดที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ  (อ่าน 4 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 556
    • ดูรายละเอียด
โรคปอดที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ
« เมื่อ: 19 ธันวาคม 2024, 13:57:33 pm »
โรคปอดที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ

โรคปอดหมายถึงความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับปอด เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด การติดเชื้อในปอด เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวมและวัณโรค และปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ โรคปอดบางชนิดอาจนำไปสู่การหายใจล้มเหลวได้



โรคปอด (Lung diseases)

โรคปอดเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก มีคนนับสิบล้านคนพบว่าเป็นโรคปอดเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดส่วนใหญ่ มาจากการสูบบุหรี่ การติดเชื้อ และพันธุกรรม

ปอดเป็นส่วนหนึ่งของระบบร่างกายที่ทำงานซับซ้อน ในแต่ละวัน ปอดขยายและหดตัวหลายพันครั้งเพื่อนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป ซึ่งหากกระบวนการนี้มีปัญหา อาจเกิดจากโรคปอดได้

โรคปอดที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ

โรคหอบหืด (Asthma)

โรคหอบหืด ทำให้ทางเดินหายใจอักเสบและหดตัว ทำให้เกิดเสียงหวีดและหายใจถี่ สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดได้ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อ หรือมลภาวะต่างๆ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease;COPD)

หากปอดมีภาวะถูกอุดกั้นเรื้อรัง จะทำให้ไม่สามารถหายใจออกได้ตามปกติ เกิดการหายใจลำบาก

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)

ทำให้เกิดอาการไอมีเสมหะเป็นเวลานาน มักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

เกิดขึ้นเมื่อปอดได้รับความเสียหาย เกิดภาวะที่ถุงลมในปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้ตามปกติ การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

การติดเชื้อทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลันมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส

โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคปอด ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการขับเสมหะออกจากหลอดลม ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในปอดซ้ำๆ
โรคปอดที่ส่งผลต่อถุงลม (Alveoli)

โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)

มักเกิดจากการติดเชื้อในถุงลมในปอด ซึ่งมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส รวมถึงไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19

วัณโรค (Tuberculosis)

โรคปอดอักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นอย่างช้าๆ มักเกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium tuberculosis ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง มีไข้ต่ำๆ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ไอมีเสมหะปนเลือด

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

โรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงลมถูกทำลาย ทำให้ปอดเกิดปัญหาการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในอากาศกับคาร์บอนไดออกไซด์ และยังส่งผลให้เกิดการจำกัดการไหลเวียนของอากาศภายในทางเดินหายใจ สาเหตุมักเกิดจากการสูบบุหรี่

ภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)

เกิดจากภาวะของเหลวรั่วไหลออกจากหลอดเลือดเล็ก ๆ ในปอด ไปยังถุงลมปอดและบริเวณรอบ ๆ ส่งผลให้ ถุงลมไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตามปกติ เกิดอาการหายใจลำบาก หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรคมะเร็งปอด (Lung cancer)

มะเร็งปอดมีหลายชนิด มะเร็งอาจเริ่มที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของปอด หรือบริเวณใกล้กับถุงลม

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome)

อาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ปอดอย่างรุนแรง หรือการเจ็บป่วยกะทันหันที่รุนแรง เช่น โควิด-19 ในบางรายอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
โรคปอดที่ส่งผลต่อหลอดเลือด

ลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary edema)

เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดขาหลุดออกไปอุดกั้นหลอดเลือดในปอดทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยฉับพลัน หายใจถี่และระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ

ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary hypertension)

ภาวะบางอย่าง เช่น ความปิดปกติของหลอดเลือดแดงปอด ความผิดปกติของหัวใจ หรือไม่ทราบสาเหตุ อาจทำให้เกิดความดันในหลอดเลือดแดงในปอดสูง ซึ่งนำไปสู่การหายใจถี่และเจ็บหน้าอก

ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion)

เป็นภาวะที่มีของเหลวสะสมอยู่ในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มช่องอก สาเหตุมักเกิดจากโรคปอดบวมหรือภาวะหัวใจล้มเหลว ปริมาตรน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดจำนวนมากอาจทำให้หายใจลำบากและอาจต้องเจาะระบายออก

โรคปอดทะลุ หรือโรคปอดรั่ว (Pneumothorax)

ภาวะนี้อากาศอาจเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด ทำให้ปอดยุบตัวลง ทำให้เหนื่อยและหายใจลำบาก

pneumonia คืออะไร

โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบจากการติดเชื้อ คือการติดเชื้อที่ทำให้ถุงลมในปอดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอักเสบ ถุงลมอาจเต็มไปด้วยของเหลวหรือหนอง ทำให้ผู้ป่วยไอมีเสมหะหรือหนอง มีไข้ หนาวสั่น และหายใจลำบาก สาเหตุอาจเกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา

โรคปอดบวมอาจมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อยไปจนถึงอันตรายถึงชีวิต โรคนี้ร้ายแรงในทารก เด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เพราะจะทำให้เกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ง่ายกว่าปกติ

(link ไปที่ pneumonia)
วัณโรคปอด (Tuberculosis;TB)
เกิดจากปอดติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis

“วัณโรค เป็นโรคร้ายแรงที่มักส่งผลต่อปอด

วัณโรคสามารถแพร่กระจายได้เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือร้องเพลง ซึ่งเกิดจากละอองเล็กๆ ที่มีเชื้อโรคลอยอยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองเข้าไป เชื้อโรคจะเข้าสู่ปอด

วัณโรคแพร่กระจายได้ง่ายในที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันแออัด ผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDS และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นวัณโรคมากกว่าผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันปกติ

ยาปฏิชีวนะสามารถรักษาวัณโรคได้ แต่เชื้อวัณโรคบางชนิดอาจดื้อยาทำให้การรักษายากขึ้น”

ภาวะปอดบวมน้ำ

“เกิดจากของเหลวที่สะสมอยู่ในถุงลมในปอดมากเกินไป ทำให้หายใจลำบาก

ส่วนใหญ่แล้ว ภาวะน้ำท่วมปอดเกิดจากผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือเกิดจากสาเหตุอื่น ได้แก่ โรคปอดบวม การสัมผัสกับสารพิษบางชนิด ยา การบาดเจ็บ และการเดินทางหรือออกกำลังกายในที่สูง

ภาวะน้ำท่วมปอดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการดูแลทันที เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ การรักษาภาวะน้ำท่วมปอดขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยารักษาและออกซิเจน”

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google