ผู้เขียน หัวข้อ: ตับอักเสบ มีอาการแรกเริ่มอย่างไร รักษาหายไหม เรามีคำตอบ  (อ่าน 171 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 517
    • ดูรายละเอียด
ตับอักเสบ มีอาการแรกเริ่มอย่างไร รักษาหายไหม เรามีคำตอบ

“ตับ”​ คือ อวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่องท้องและเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญของร่างกายที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสารอาหาร สังเคราะห์โปรตีน และผลิตสารชีวเคมีที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ซึ่งจะทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างปกติ ได้แก่ การย่อยสารอาหาร การสะสมอาหาร รวมไปถึงการกำจัดของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย หากตับไม่สามารถทำงานได้ปกติหรือมีภาวะอักเสบก็จะส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้วยเช่นกัน วันนี้เราจะมาแชร์ความรู้เรื่องภาวะตับอักเสบ เพื่อทุกคนจะได้สังเกตอาการแรกเริ่มและเข้าใจวิธีการรักษาได้


ตับอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร

              ตับอักเสบ (Hepatitis) คือ ภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณตับ สาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การใช้สารเสพติด หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา เป็นต้น เมื่อตับเกิดอาการอักเสบขึ้นจะส่งผลให้เซลล์ตับตาย และหากไม่ได้รับการรักษาตับจะเริ่มเป็นแผล จนเกิดเป็นพังผืด จนทำให้ตับแข็ง หรือเกิดเป็นมะเร็งได้ในที่สุด


ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดตับอักเสบ

·       การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่  ไวรัสตับอักเสบชนิด A B C D และ E

·       การได้รับยาและสารพิษในปริมาณมากและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

หรือแม้แต่ยาบางชนิดที่ถึงจะรับในปริมาณน้อย แต่ก็อาจสร้างความเสียหายให้กับตับได้ เช่น ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของพาราเซตมอล ยากลุ่มเอ็นเสด(NSAIDs) ยาคุมกำเนิด ยาแก้อักเสบอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ที่มีส่วนผสมของคลาวูลาเนท(Clavulanate) ยากลุ่มซัลฟา ยากลุ่มสแตติน (Statin) ยาอะมิโอดาโรน(Amiodarone) ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) ยาคลอร์โปรมาซีน(Chlorpromazine) ยาอิริโทรมัยซิน(Erythromycin) ยาเมทิลโดปา(Methyldopa) ยาไอโซไนอาซิด(Isoniazid) ยาเมโธเทรกเซท(Methotrexate) ยาเตตราไซคลีน(Tetracycline) และยากันชักบางชนิด เป็นต้น

·       ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดพลาด

ทำให้เกิดการขัดขวางการทำงานของตับ และส่งผลให้ตับเสียหายจนเกิดการอักเสบ ซึ่งมีตั้งแต่ชนิดไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นรุนแรง

 
·       มีพฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

เพราะแอลกอฮอล์จะเข้าไปทำลายเซลล์ตับ หากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้ตับเกิดความเสียหายถาวรและนำไปสู่ภาวะตับวายและโรคตับแข็งได้

 
·       มีไขมันพอกบริเวณตับ

ภาวะความผิดปกติของตับที่เกิดจากสาเหตุนี้มักจะไม่แสดงอาการ ส่วนใหญ่อาการจะปรากฏขึ้นเมื่อตับเข้าสู่สภาวะอักเสบขั้นรุนแรงแล้ว โดยผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดสภาวะตับอักเสบจากสาเหตุนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น

 
5 ชนิดของไวรัสตับอักเสบ

·       ไวรัสตับอักเสบชนิด A  (Hepatitis A Virus: HAV)

ไวรัสชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในกลุ่มประเทศที่มีระบบสาธารณะสุขไม่ดี เนื่องจากเชื้อจะแพร่กระจายผ่านทางการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาดและปนเปื้อนเชื้อไวรัสชนิดนี้ ถ้าหากได้รับเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีไข้ รู้สึกอ่อนเพลีย อาเจียน มีลักษณะอาการดีซ่าน เช่น ดวงตาและผิวหนังมีสีเหลือง สีอุจจาระซีดลง และปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น เป็นต้น

·       ไวรัสตับอักเสบชนิด B  (Hepatitis B Virus: HAV)

เป็นไวรัสตับอักเสบอีก 1 ชนิดที่พบบ่อย โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย สามารถป้องกันได้โดยการรับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ B สำหรับการแพร่กระจายของเชื้อนั้น ลักษณะการติดต่อเหมือนกับการติดเชื้อ HIV ซึ่งสามารถติดต่อผ่านทางเลือดหรือของเหลวในร่างกาย เช่น จากแม่สู่ลูก จากการมีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อชนิดนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบรุนแรง ตับอักเสบเรื้อรัง และร้ายแรงจนพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้

·       ไวรัสตับอักเสบชนิด C  (Hepatitis C Virus: HAV)
ผู้ป่วยจะได้รับการติดเชื้อผ่านทางการรับของเหลวจากร่ายกายของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด C เข้าไปโดยตรง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งจากแม่สู่ลูก การมีเพศสัมพันธ์ และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่นเดียวกับไวรัสอักเสบชนิด B ไวรัสตับอักเสบชนิด C เมื่อเข้าสู่ร่ากายจะไม่แสดงอาการ จะรู้ก็ต่อเมื่อตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่ามีเชื้อเข้าไปในร่างกาย และเมื่อเวลาผ่านไปก็อาจเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดพังผืดในตับ จนกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

·       ไวรัสตับอักเสบชนิด D  (Hepatitis D Virus: HAV)

เชื้อไวรัสชนิดนี้พบได้น้อยแต่มีความรุนแรงมากกว่าชนิดอื่น 10 เท่า โดยการแพร่ของเชื้อจะเกิดจากการรับเลือดของผู้ติดเชื้อโดยตรง และจะเกิดกับผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ B อยู่ก่อนแล้วเท่านั้น เพราะเชื้อไวรัสชนิด D ไม่สามารถแพร่กระจายได้หากไม่มีเชื้อไวรัสชนิด B อยู่ในร่างกาย

·       ไวรัสตับอักเสบชนิด E  (Hepatitis E Virus: HAV)

พบได้ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านระบบสาธารณสุข เช่น ประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และแอฟริกา โดยจะเกิดกับพื้นที่ที่ระบบการจัดการน้ำไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ เพราะผู้ป่วยจะได้รับเชื้อจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไป หรือการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อฆ่าเชื้อก่อน โดยผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดอื่น แต่จะเกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน และนำไปสู่การเป็นตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งด้วย


อาการทั่วไปของผู้ป่วยตับอักเสบ

·       ตับอักเสบเฉียบพลัน

o   รู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้า เพลียตลอดเวลา

o   ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ

o   มีไข้สูง 38 องศาขึ้นไป

o   ปัสสาวะสีเข้ม

o   อุจจาระสีซีด

o   ปวดท้อง

o   เบื่ออาหาร

o   คันตามผิวหนัง

o   น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

o   เกิดภาวะดีซ่าน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง

·       ตับอักเสบเรื้อรัง ในช่วงแรกเริ่มจะไม่มีปรากฏอาการชัดเจน แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อตับเริ่มทำงานได้ไม่เต็มที่หรือเริ่มมีภาวะไตวายแล้ว

o   ภาวะดีซ่าน

o   ขา เท้า และข้อเท้าบวม

o   รู้สึกมึนงง สับสน

o   อาเจียน หรืออุจจาระเป็นเลือด


วิธีการรักษาตับอักเสบ

              ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ ทำให้การรักษาจะทำโดยการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อกำจัดเชื้อ คือ การฉีดยาอินเตอร์เฟียรอน(Interferon) และการรับประทานยาลามิวูดีน(Lamivudine) ซึ่งยาทั้งสองชนิดจะเข้าไปลดการอักเสบและทำให้ระดับเอนไซม์ของตับกลับสู่ภาวะปกติ นอกจากนั้นยังอาจลดเนื้อเยื่อพังผืดในตับ ป้องกันการเกิดตับแข็งหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ โดยแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกชนิดและกำหนดปริมาณยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

              ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด B และ C ชนิดเรื้อรังมีความเสี่ยงที่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคตับเรื้อรัง โรคตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับ นอกจากนั้นยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย ได้แก่

·       ภาวะเลือดออกผิดปกติ

·       ท้องมาน – ภาวะที่ของเหลวสะสมระหว่างเยื่อหุ้มช่องท้อง และอวัยวะภายในช่องท้องมากผิดปกติ ทำให้พุงขยายใหญ่คล้ายคนตั้งครรภ์

·       ภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ

·       ภาวะไตวาย

·       อาการทางสมองที่มีสาเหตุจากโรคตับ

·       มะเร็งตับ

·       เสียชีวิต

 
ผู้ป่วยโรคตับอักเสบต้องดูแลตนเองอย่างไรบ้าง

·       รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม คือ อาหารที่ถูกหลักอนามัย ปรุงสุก สะอาดและครบ 5 หมู่

·       หลีกเลี่ยงยาและอาหารเสริมที่ไม่จำเป็น รวมถึงยาสมุนไพรและยาลูกกลอน

·       หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด

·       ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควรเลือกชนิดกีฬาที่ไม่หักโหม เหมาะกับวัย เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ เป็นต้น

·       ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด และควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ทุกครั้งในการใช้ยา

·       ตรวจเลือดทุก 3 – 6 เดือนและตรวจอัลตราซาวด์ทุก 6 – 12 เดือน


ตับอักเสบป้องกันได้เพียงแค่...

·       หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่

o   การใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น

o   การใช้ของมีคมร่วมกับบุคคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ

o   การมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย

o   บุคลากรทางการแพทย์ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุมเมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง

o   หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ตับได้พักจากการทำงานหนัก

·       หญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าจำเป็นต้องรับยาต้านเชื้อไวรัสหรือไม่เพื่อป้องกันการส่งต่อเชื้อสู่ทารก

·       ฉีดวัคซีน ซึ่งอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด A และ B ได้ โดยปกติเด็กจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ B ตั้งแต่แรกเกิด แต่สำหรับเด็กอายุ 10 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันก่อนรับวัคซีน

 

xaolinmonk

  • บุคคลทั่วไป

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google