อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการจัดฟันตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน มีการพัฒนาเป็นอย่างมากสำหรับการรักษาและนวัตกรรมด้านทันตกรรม โดยเฉพาะ การรักษาด้วยการจัดฟัน ซึ่งถือว่ามีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทางด้านนี้เป็นจำนวนมากไม่แพ้การรักษาทันตกรรมด้านอื่นๆ
ซึ่งนวัตกรรมด้านการจัดฟัน ถือว่าเติบโตรวดเร็วจากการวิจัยและศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบว่าการรักษาทางทันตกรรมด้วยวิธีการจัดฟันนั้น มีข้อดีต่างๆมากมาย แต่ต้องขอบอกเลยว่าแม้การรักษาด้วยการจัดฟันนั้นจะเป็นวิธีที่ดีมากๆเพียงใดก็ตามแต่หากว่าท่านไม่ดูแลรักษา หรือทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด ท่านก็อาจจะมีโอกาสเสี่ยงต่างๆได้เช่นกัน
ซึ่งในวันนี้ทางด้าน Clinic ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมกว่า 15 ปี โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จะขอมาอธิบายถึงอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการจัดฟัน เพื่อให้รู้จักป้องกันและแก้ไข โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
อาการแทรกซ้อนจากการจัดฟัน ?
ต้องขอบอกเลยว่า การรักษาไม่ว่าจะรักษาอะไรก็ตาม จะต้องมีปัจจัยเสี่ยงอยู่เสมอ เพราะ ไม่มีการรักษาใดๆในโลกที่มีแต่ข้อดี 100% ทุกการรักษาต้องมีปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดด้วยกันทั้งสิ้น ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้
– มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ โรคเหงือก และที่พบมากคือการเกิดจุดด่างขาวบนผิวเคลือบฟัน ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินไป และไม่ได้ทำความสะอาดด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้แม้ว่าไม่ได้ทำการจัดฟันก็เกิดขึ้นได้ แต่ต้องยอมรับว่าผู้ที่ใส่อุปกรณ์จัดฟันจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
– ในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการจัดฟันบางราย อาจจะเกิดปัญหารากฟันลดลงในขณะที่ทำการจัดฟัน ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่จะไม่มีผลกระทบใดๆต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร
– อย่างที่ทราบกันดีว่าการจัดฟันเป็นการบังคับให้ฟันเคลื่อนที่ไปอยู่ในจุดที่ต้องการ แต่การเคลื่อนฟันนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อเหงือกและสุขภาพของกระดูกที่ลองรับฟันของบางคนที่ดูแลสุขภาพฟันหรือกำจัดจุลินทรีย์ในช่องปากไม่หมด ช่องปากไม่สะอาด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการเหงือกอักเสบได้
– หลังจากที่จัดฟันเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ควรใส่เครื่องมือคงสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากว่าละเลยอาจจะส่งผลให้เกิดฟันผิดรูปดังเดิมได้ ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมบางอย่างเช่น การหายใจทางปาก การเล่นดนตรีเครื่องเป่าเป็นประจำ การงอกขึ้นของฟันคุด เป็นต้น และพฤติกรรมเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมได้
– ในบางกรณีอาจจะส่งผลถึงข้อต่อขากรรไกร ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ข้อต่อดังกล่าว รวมถึงปวดศีรษะ ปวดในหู ซึ่งหากว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบบอกทันตแพทย์โดยด่วน
– สำหรับผู้ป่วยที่เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับฟัน หรือเคยมีฟันผุลึกมากๆ การเคลื่อนตัวของฟันในขณะที่จัดฟันอาจจะมีผลกระทบต่อเส้นประสาท ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ทำการรักษารากฟันให้เป็นปกติเสียก่อน
– เครื่องมืออุปกรณ์จัดฟัน อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคือง หรืออาจจะเกิดแผลบริเวณเหงือก แก้ม และริมฝีปากได้ ซึ่งถือว่าเป็นปกติ
– อุปกรณ์จัดฟันอาจจะมีโอกาสเสี่ยงในการหลุดได้ในบางราย ซึ่งหากว่าอุปกรณ์จัดฟันหลุดหรือหัก ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์ผู้ที่ทำการรักษาโดยด่วน
– ในผู้ป่วยที่จัดฟันเพื่อแก้ไขการซ้อนเก จำเป็นที่จะต้องถอนฟันบางซี่ออกเสียก่อน เพื่อแก้ไขการไม่สมดุลของโครงสร้างขากรรไกร
– ไม่อาจกำหนดระยะเวลาในการจัดฟันได้แน่นอน ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของกระดูกที่น้อยหรือมากกว่าปกติ ความร่วมมือของผู้ป่วยที่เข้ารับการจัดฟัน การรักษาความสะอาดในช่องปาก การผิดนัดหมายของทันตแพทย์ ล้วนแต่มีผลกับระยะเวลาในการจัดฟันทั้งสิ้นการที่ใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นในการรักษา ส่งผลต่อผลการรักษาด้วยเช่นกัน
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือ อาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ตัวผู้ป่วยในเรื่องของการดูแลรักษาความสะอาด และระเบียบวินัยต่างๆนั่นเองที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดอาการแทรกซ้อนเหล่านั้นได้